การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 6

510 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 6

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 6

การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) = วิธีคิดแบบมีเป้าหมายและจัดการกับความเสี่ยง

การคิดเชิงระบบ ด้วยการคิดแบบมีเป้าหมายและจัดการกับความเสี่ยง เป็นการคิดเชิงระบบที่มีการวางแผนกลยุทธ์ เป็นการคิดต่อจากวิธีคิดแบบทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือหลังจากที่มีความเข้าใจและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ก็คิดหาทิศทาง เป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ระดับต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้เป็นการป้องกัน ลด หลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการคิดเชิงระบบที่เป็นทักษะสำคัญในการบริหารจัดการเพราะสามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย แผนงานที่ถูกต้องตั้งแต่แรก จะทำให้ทำน้อยได้มาก (Doing Less Getting More)

จากการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อน (SWOT Analysis) ที่เป็นวิธีคิดแบบทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะได้ “ประเด็นกลยุทธ์ที่สำคัญ” คือ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ นำประเด็นกลยุทธ์ที่สำคัญเหล่านี้ไปวางแผนกลยุทธ์แต่ละระดับ ตามทิศทางของบริษัท วิสัยทัศน์ และเป้าประสงค์

กลยุทธ์เชิงรุก มีทั้งโอกาสและจุดแข็งจะเน้นไปที่การเติบโต ขยายช่องทาง พัฒนาตลาดใหม่ ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

กลยุทธ์เชิงแก้ไข นำโอกาสไปแก้ไขจุดอ่อน จะเน้นไปที่การปรับปรุงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่สามารถสร้างคุณค่าได้ให้มีความสามารถมากขึ้นโดยอาศัยทรัพยากรจากปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วย

กลยุทธ์เชิงป้องกัน นำจุดแข็งไปป้องกันอุปสรรค จะเน้นไปที่การรักษาฐานการตลาดเดิม พัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง มีรุกบ้างในการขยายฐานตลาดเดิมที่เป็นลูกค้าใหม่ ๆ หรือขยายพื้นที่

กลยุทธ์เชิงรับ มีทั้งจุดอ่อนและอุปสรรค จะเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรภายใน ให้สามารถสร้างคุณค่าที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ลดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

 



การบริหารธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จำเป็นต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ที่จะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เพื่อที่จะทำให้ป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางธุรกิจได้

เหตุการณ์ (Events) : การบริหารธุรกิจต้องคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา การทำงานและการมอบหมายงานไม่มีความสอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายของบริษัท

มีรูปแบบ (Patterns) : มีการเก็บข้อมูลปัญหาในอดีต ทำ SWOT Analysis ระดมความคิดเห็นทุกหน่วยงาน ให้จัดทำแผนการดำเนินงาน

มีการจัดทำโครงสร้างระบบ (System Structures) : หลังจากมีการรูปแบบการจัดทำแผนดำเนินงานแล้ว จึงมีการสร้างกระบวนการที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุและผล มีการมอบหมาย การวัด ประเมินผล

หลักการคิดเชิงระบบการคิดเชิงระบบที่มีการวางแผนกลยุทธ์

1. เป็นการคิดเชิงระบบที่มองจากผลไปหาเหตุ

2. สังเกตเหตุการณ์ปัญหาการวางแผนที่ไม่สามารถนำไปทำงานได้จริง

3. ระบุปัญหาให้ชัดเจน

4. ทำความเข้าใจกระบวนการย่อยๆ ที่ใช้ในการวางแผน

5. สร้างกระบวนการที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุและผล

เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์

SWOT Analysis, TOWS Matrix, กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Process), แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map), Balanced Scorecard and KPI, หน้าที่การจัดการ (Management Function)

ผลลัพธ์ที่ได้

· ทิศทางขององค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม เป้าประสงค์ • กลยุทธ์ระดับบริษัท กลยุทธ์ระดับธุรกิจ กลยุทธ์ระดับหน้าที่ • แผนที่กลยุทธ์

· ป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

การคิดเชิงระบบ ด้วยการคิดแบบที่มีการวางแผนกลยุทธ์ จึงเป็นหลักการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่วางได้อย่างถูกต้องตั้งแต่แรก เมื่อถูกต้องตั้งแต่แรกจึงเป็นการทำน้อยได้มาก (Doing Less Getting More) และแผนที่ดีจะทำให้ป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้

“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”

 


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจBCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้