การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 2 การวิเคราะห์กระบวนการ

425 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 2 การวิเคราะห์กระบวนการ

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่2

การวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis)

= วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์ คิดจากผลไปหาเหตุ 

การคิดเชิงระบบ ด้วยการคิดแบบแยกแยะเป็นวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ในการบริหารธุรกิจและการปฏิบัติงาน ต้องมีผังกระบวนการเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการ เพื่อจะได้รู้ว่ากระบวนการมีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง และองค์ประกอบหลักมีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ที่จะทำให้ทำงานได้สำเร็จ ถ้าองค์ประกอบย่อยใดมีปัญหาจะส่งผลต่อองค์ประกอบหลักอย่างไร และส่งผลต่อกระบวนการอย่างไร องค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และต้องใช้การคิดแบบคิดจากเหตุไปหาผล (หลักการที่1) เพื่อการปรับปรุงองค์ประกอบที่ไม่ดี ให้กลับมาเป็นองค์ประกอบที่ดีเป็นปกติต่อไป

จากรูปผลลัพธ์ที่ลูกค้าได้รับ มาจาก Business Process ที่ครบถ้วน ใน Business Process ก็มี Work Process ที่ครบถ้วนเช่นเดียวกัน ใน Work Process ก็มี WI/SOP ที่ครบถ้วนเช่นเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า ภายใน Business Process ทั้งหมดมีความครบถ้วน มีการทำงานที่ถูกต้องตาม WI/SOP ก็จะทำให้ลูกค้า (ผลลัพธ์ของ Business Process) ได้รับสินค้าและบริการที่ถูกต้องครบถ้วนตามเวลาที่กำหนด

 



จากรูปการดำเนินงานธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ (ผลลัพธ์ของธุรกิจ) ก็ต่อเมื่อ แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas-BMC) นี้มีข้อมูลครบ ถูกต้องสัมพันธ์กันทั้ง 9 ช่อง ถ้าไม่มีข้อมูลครบ ถูกต้องสัมพันธ์กันทั้ง 9 ช่อง แบบจำลองธุรกิจนี้ (BMC) ก็จะไม่สามารถดำเนินงานได้


การคิดเป็นระบบ ด้วยการวิธีคิดแบบแยกแยะ วิเคราะห์กระบวนการที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มีความเป็นเหตุและผล จะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาเชิงป้องกันได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่เก่งคิดทั้งคิดจากเหตุไปหาผล และคิดจากผลไปหาเหตุ ทำงานได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลากับปัญหาเดิมๆ เรียกว่า “ทำน้อย ได้มาก (Doing Less Getting More)”


ทั้งหลักการที่1 “คิดจากเหตุ ไปหาผล” และหลักการที่2 “คิดจากผล ไปหาเหตุ” เป็นจุดเริ่มของการคิดเป็นระบบที่สำคัญมาก ซึ่งจะสร้างคุณค่าด้านการจัดการของตัวเราได้อย่างมาก เป็นที่ต้องการของทุกองค์กร


เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์

ผังกระบวนการธุรกิจ (Business Process Flow Chart), ผังกระบวนการทำงาน (Work Process Flow Chart), ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain), แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas)

ผลลัพธ์ที่ได้

• สามารถวิเคราะห์กระบวนการหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลให้รู้ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างครบถ้วนในการสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

• ทุกกระบวนการมีการตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายนอกและลูกค้าภายในอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ

• กรณีผลลัพธ์ไม่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า สามารถวิเคราะห์หากระบวนการหลัก และกระบวนการย่อยที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้โดยง่ายด้วยวิธีคิดแบบคิดจากเหตุไปหาผล


“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”

 


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจ BCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้