การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่4 กระบวนการแก้ปัญหา

1071 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่4  กระบวนการแก้ปัญหา

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่4

กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process) = วิธีคิดแบบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

การคิดเชิงระบบ ด้วยการคิดแบบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ เป็นการมองจากเหตุไปหาผล และมองจากผลไปหาเหตุ มองแบบทวนสอบ ให้มั่นใจว่าการแก้ปัญหาถูกต้อง และเป็นวิธีคิดที่ปรับปรุงมาตรฐานให้สูงขึ้น เป็นการคิดเชิงระบบที่เป็นทักษะสำคัญในการทำงานเพราะการแก้ปัญหาได้ถูกต้องจะทำให้ ทำน้อยได้มาก (Doing Less Getting More)

การแก้ปัญหาถือเป็น “วิชาชีวิต” ไม่ว่าจะทำงานในวิชาชีพด้านใดต้องเผชิญกับปัญหาและต้องแก้ปัญหา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของบริษัท ตัวอย่างเช่น

ด้านการตลาด ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ส่วนแบ่งการตลาด ก็ต้องดำเนินการแก้ปัญหา
ด้านการเงิน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ การเก็บหนี้ ก็ต้องดำเนินการแก้ปัญหา
ด้านการผลิต ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพการผลิต ก็ต้องดำเนินการแก้ปัญหา

ดังนั้นการมีความเข้าใจและมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงานทุกระดับ เพราะทุกบริษัทล้วนคาดหวังว่าบุคลากรจะต้องแก้ปัญหาในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำพาหน่วยงานและบริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ ซึ่งเป็นผลงานที่ดีสำหรับตนเองด้วย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตการทำงานดีขึ้น มีความสุขกับการทำงาน ธุรกิจมีความยั่งยืน

หลักการคิดเชิงระบบด้วยการคิดแบบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

1. ต้องคิดจากเหตุไปหาผล คือมีเหตุ (สาเหตุ) ใดบ้าง ? ในกระบวนการที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงทำให้เกิดปัญหา (ผล) ด้วยการถามคำว่า “ทำไม”

2. ต้องคิดจากผลไปหาเหตุ คือปัญหา (ผล) ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใดบ้าง? ในกระบวนการ ด้วยการถามคำว่า “เป็นเพราะอะไร”

3. ระบุปัญหาให้ชัดเจน

4. ค้นหาสาเหตุให้ครบถ้วน

5. ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่แท้จริงและตั้งเป้าหมาย

6. ดำเนินงานตามมาตรฐานใหม่เพื่อแก้ปัญหาเชิงป้องกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์

ขั้นตอนการแก้ปัญหา 7 ขั้นตอน (วงจร PDCA), เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด, เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 ชนิด, ผังกระบวนการทำงาน (Work Process), 5W1H, การระดมสมอง

ผลลัพธ์ที่ได้

• สามารถระบุปัญหาได้อย่างชัดเจน
• สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้า (สาเหตุที่แท้จริง) ของปัญหาได้
• สามารถแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า (สาเหตที่แท้จริง) เป็นการแก้ปัญหาเชิงป้องกัน
• มีการปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานใหม่
• ไม่เกิดปัญหาเดิมซ้ำ


“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”
 


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจBCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้