461 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำความเข้าใจถึงหลักการ Value Chain Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์หาจุดแข็งจุดอ่อน ของธุรกิจ ต้องค้นหาจุดแข็งเพื่อไปบวกกับโอกาสภายนอกเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรวดเร็ว นำจุดแข็งไปป้องกันอุปสรรคภายนอก
Value Chain หรือห่วงโซ่คุณค่า เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์กระบวนการภายในองค์กรธุรกิจโดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการ การบริการหลังการขาย ให้แก่ลูกค้า โดยจะมีการวิเคราะห์หาจุดแข็งแต่ละขั้นตอนสามารถสร้างคุณค่า (Value) อะไรได้บ้าง ? ให้กับองค์กรและธุรกิจ ซึ่งสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคู่แข่งได้ด้วย เครื่องมือนี้ถึงแม้จะใช้กันมานานแล้ว แต่เป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย ที่ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างทรงพลัง จึงยังคงทรงคุณค่าและนิยมใช้กันในการวิเคราะห์ภายในองค์กรเพื่อสร้างกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในสภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวนที่ถี่ขึ้นรุนแรงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกองค์กร ย่อมเกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจอย่างแน่นอน ดังนั้นการจะป้องกัน ลด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ต้องทำปัจจัยภายในองค์กรให้แข็งแกร่ง ดังนั้นการใช้เครื่องมือ Value Chain เพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง และสร้างคุณค่าจึงจำเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกคนในองค์กรควรจะต้องใช้เครื่องมือนี้ให้เป็นและวิเคราะห์ให้ถี่ขึ้น ตามการผันผวนทางเศรษฐกิจที่ผันผวนถี่ขึ้นเช่นกัน ทำให้เป็นเรื่องปกติแบบ Next Normal
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) ต้องคำนึงถึงความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าก่อนเสมอ เพราะการวิเคราะห์หาจุดแข็งภายใน เพื่อคุณค่านั้นจะต้องตอบสนองต่อความต้องและความคาดหวังของลูกค้า ถ้าไม่ตอบสนองก็เป็นความสูญเปล่าทันทีไม่ เกิดประโยชน์ เช่น ลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการที่ราคาถูก ธุรกิจก็ต้องวิเคราะห์หาจุดแข็งภายในว่าขั้นตอนใดมีจุดแข็งที่จะทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการลดลงได้ แล้วยกมาตรฐานขึ้นเพื่อสร้างคุณค่าด้านต้นทุนต่ำให้กับสินค้าและบริการ วิเคราะห์หาจุดอ่อนภายในว่าขั้นตอนใดมีจุดอ่อนทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการสูงขึ้น แล้วสร้างคิดหาวิธีลดความสูญเปล่าขั้นตอนนั้นลงให้เข้าสู่มาตรฐานทำให้ลดต้นทุนลง
หรือลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการที่มีความแตกต่าง หายากในตลาด ธุรกิจก็ต้องวิเคราะห์จุดแข็งภายในว่าขั้นตอนใดมีจุดแข็งที่จะทำให้สินค้าและบริการมีความแตกในตลาด แล้วดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างในตลาด วิเคราะห์หาจุดอ่อนภายในว่าขั้นตอนใดมีจุดอ่อนไม่สามารถสร้างสรรค์ความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ก็ดำเนินการพัฒนาขั้นตอนนั้นให้มีสามารถสร้างสรรค์ความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้
เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว สามารถสร้างจุดแข็งได้ มีความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังลูกค้าแล้ว นำไปบวกกับโอกาสในตลาดจะทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อเห็นอุปสรรคคือความผันผวนที่ถี่ขึ้นรุนแรงขึ้น (ความเสี่ยง) ก็นำจุดแข็งไปป้องกัน ลด หลีกเลี่ยง ความเสี่ยงนั้นได้ จะได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้นถ้าเรา คิดก่อนทำก่อน
การบริหารธุรกิจด้วยเครื่องมือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) วิเคราะห์อย่างถูกต้อง และมีความถี่ที่เหมาะสม ก็จะได้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการป้องกัน ลด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ ในยามปกติก็จะได้กลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นการดำเนินธุรกิจวิถีปกติแบบ Next Normal
“คุณค่าที่แท้จริงจากปัจจัยภายใน จะฝ่าฟันอุปสรรคและความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกไปได้”