การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 3

453 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 3

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 3

การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อน (SWOT Analysis)

= วิธีคิดแบบทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 


การคิดเชิงระบบ ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส อุปสรรค) เป็นการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ที่มองจากผลไปหาเหตุ มองว่าปัจจัยทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วจะจัดทำกลยุทธ์อย่างไร? ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้

การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อย่างเช่น สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก เกสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้น้ำมัน แก๊ส พลังงาน และวัตถุดิบ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เกิดเงินเฟ้อ ประกอบกับสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหาเงินเฟ้อเช่นกัน ทั้งหมดนี้จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกและของไทยเกิดภาวะชะลอตัวถึงถดถอย จะเห็นได้ว่าในช่วง 3-4 ปีนี้ เศรษฐกิจมีความผันผวนถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อน ๆ ที่ผ่านมา ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จะเห็นว่า “การเปลี่ยนแปลงล้วนเป็นความเสี่ยง” นั่นคือ การบริหารธุรกิจจะต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เข้าใจและรู้เท่าทัน ปัจจุบัน ต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน (โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อน) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน จะเป็นการป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

หลังจากวิเคราะห์ SWOTแล้วให้จัดทำ TOWS Matrix เป็นการจับคู่ระหว่าง ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ทีละคู่

จับคู่ “จุดแข็ง กับ โอกาส (S + O) จะได้ กลยุทธ์เชิงรุก”
จับคู่ “จุดแข็ง กับ อุปสรรค (S + T) จะได้ กลยุทธ์เชิงป้องกัน”
จับคู่ “จุดอ่อน กับ โอกาส (W + O) จะได้ กลยุทธ์เชิงแก้ไข”
จับคู่ “จุดอ่อน กับ อุปสรรค (W + T) จะได้ กลยุทธ์เชิงรับ”

กลักการคิดเชิงระบบที่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน เพื่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจให้ได้

1.      ต้องคิดจากผลไปหาเหตุ คือเราต้องการหากลยุทธ์ (ผล) ที่เหมาะสมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

2.     มีเหตุอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อการจัดทำกลยุทธ์

3.     มี 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายใน (เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้) และปัจจัยภายนอก (เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้)

4.    ปัจจัยภายในที่จะส่งผลต่อการจัดทำกลยุทธ์คือ จุดแข็ง จุดอ่อน

5.     ปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลต่อการจัดทำกลยุทธ์คือ โอกาส อุปสรรค

เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis), TOWS Matrix, การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning), Balanced Scorecard and KPI

ผลลัพธ์ที่ได้

• รู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน เข้าใจสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
• รู้ทิศทางทางธุรกิจ จะนำพาธุรกิจไปได้อย่างไร
• สามารถสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
• ประเด็นกลยุทธ์ที่สำคัญ

 
“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”

 


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจBCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้