10 ทักษะจำเป็นของผู้จัดการ ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21

347 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 ทักษะจำเป็นของผู้จัดการ ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21

การคิดเชิงระบบ (System Thinking)
ทักษะที่จำเป็นของผู้จัดการในการจัดการเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21


การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อการดำเนินงานของทุกธุรกิจ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงช้าจะเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้เร็วจะได้เปรียบในการแข่งขัน ธุรกิจใดที่มีบุคลากรมีการคิดอย่างเป็นระบบ จะสามารถคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ที่มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายและซับซ้อนได้ดี ทำให้วางแผนกลยุทธ์ได้ถูกที่ถูกเวลาถูกประเด็น


การคิดเชิงระบบ เป็นการใช้ความเชื่อมโยงที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุและผล โดยการใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาและสาเหตุที่มีความซับซ้อนในกิจกรรมการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ การวินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้องแม่นยำ จากการคิดเชิงระบบด้วยความเชื่อมโยงที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุและผล จะสามารถช่วยในการตรวจสอบปัญหาและยืนยันสาเหตุเพื่อให้เกิดความแม่นยำและสมบูรณ์มากขึ้น

การคิดเชิงระบบ จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของผู้บริหารและผู้จัดการ เพราะการวินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้องแม่นยำ จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นและชุดข้อมูลเหล่านั้นนำมาวางแผนในอนาคตได้อย่างแม่นยำด้วย จึงเรียกได้ว่าเป็นการคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

การคิดเชิงระบบ ที่เป็นการคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ในการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลักการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management-TQM) มี 10 หลักการ

1. การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis) = วิธีคิดแบบคิดจากเหตุไปหาผล

2. การวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis) = วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์ คิดจากผลไปหาเหตุ

3. การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง จุดอ่อน (SWOT Analysis) = วิธีคิดแบบทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

4. กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process) = วิธีคิดแบบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

5. มาตรฐานการทำงาน (Work Standards) = วิธีคิดแบบทำให้ถูกตั้งแต่แรก

6. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) = วิธีคิดแบบมีเป้าหมายและจัดการกับความเสี่ยง

7. การวิเคราะห์คุณค่าเพิ่ม (Value Added) ความสูญเปล่า (Wastes or Non- Value Added) = วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ขจัดความสูญเปล่า

8. วิธีคิดพลิกวิกฤติเป็นโอกาส (Turn Crisis into Opportunity) = วิธีคิดแบบความคิดเชิงสร้างสรรค์

9. การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) = วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน มีสติคิดและทำบรรลุตามเป้าหมาย

10. การวินิจฉัยองค์กร (Organizational Diagnosis) = วิธีคิดแบบวัด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และปรับปรุง


การคิดเชิงระบบ (System Thinking) จะทำให้ธุรกิจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรมีความยั่งยืน พนักงานทำงานอย่างมืออาชีพ ลูกค้ามีความประทับใจ

โดยจะขออธิบายรายละเอียดในการคิดเชิงระบบ (System Thinking) ทั้ง 10 หลักการ ติดตามได้ในบทความครั้งถัดไปครับ

 


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจBCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้