บริหารโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง คือ โมเดลธุรกิจ และแผนธุรกิจ Next Normal (4)

277 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บริหารโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง คือ โมเดลธุรกิจ และแผนธุรกิจ Next Normal (4)

โมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจ เป็นเหมือนกระดุมเม็ดแรกของธุรกิจที่จะต้องติดให้ถูกต้องก่อน แล้วการติดกระดุมเม็ดต่อ ๆ ไปจะติดได้ถูกต้องตามมา เป็นการคิดถูกวิธี ทำถูกวิธี อย่างมีเหตุผล ทั้งโมเดลธุรกิจ และแผนธุรกิจ ไม่ใช่เขียนเพื่อยื่นกู้ธนาคาร เสร็จแล้วก็ไม่ได้นำมาใช้ในการดำเนินงานต่อ จริงๆ แล้วทั้งโมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจต้องคอยปรับปรุงให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง และความผันผวนทางเศรษฐกิจ ต้องดำเนินการให้เป็นเรื่องปกติของ Next Normal


โมเดลธุรกิจ (Business Model) คือการมองแบบภาพใหญ่ (Big Picture) และมองภาพรวมที่เป็นขอบเขตของธุรกิจให้ออก เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละเรื่องของขอบเขตธุรกิจให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุและผล ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้

o กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
o คุณค่าของสินค้าและบริการที่ส่งมอบให้ลูกค้า
o ความแตกต่างในตลาด
o ทรัพยากรที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ
o รูปแบบรายได้


โมเดลธุรกิจในปัจจุบันนิยมใช้ แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) ที่คิดค้นโดย Alexander Osterwalder แบบจำลองธุรกิจนี้อยู่บนกระดาษแผ่นเดียวมี 9 ช่องดังนี้

1. กลุ่มลุกค้าเป้าหมาย
2. การเสนอคุณค่า
3. ช่องทาง
4. ความสัมพันธ์กับลุกค้า
5. กระแสรายได้
6. ทรัพยากรหลัก
7. กิจกรรมหลัก
8. พันธมิตรหลัก
9. โครงสร้างต้นทุน


ทั้ง 9 ช่องจะสื่อสารออกมาให้เห็นเป็นภาพใหญ่แบบ Bird’s-eye view มองได้ครบถ้วนทั้งหมดของขอบเขตธุรกิจบนกระดาษแผ่นเดียว ทำให้สะดวกและง่ายดายต่อการดำเนินธุรกิจ สื่อสารภายในองค์กรให้เห็นภาพเดียวกัน จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างมาก


แผนธุรกิจ (Business Plan) คือการสร้างกระบวนการแจกแจงรายละเอียดการดำเนินธุรกิจในแต่ละปี โดยใช้โมเดลธุรกิจเป็นหลักในการวิเคราะห์แผน ซึ่งมีรายละเอียดคือ

• วิเคราะห์ขนาดของตลาด แนวโน้ม และโอกาสทางธุรกิจ
• การวิเคราะห์ธุรกิจ ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสภาพการแข่งขัน
• วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
• ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ในการดำเนินธุรกิจ
• เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
• กลยุทธ์การแข่งขัน
• กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (แผนดำเนินงาน) ได้แก่ การตลาดและการขาย การผลิต การออกแบบและพัฒนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กาบัญชีและการเงิน ฯลฯ พร้อมทั้งการจัดทำตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนต่างๆ
• การจัดทำงบประมาณ
• การประเมินและการควบคุมกลยุทธ์
• การวินิจฉัยองค์กร ในการปรับปรุงแผนธุรกิจ


โมเดลธุรกิจจึงเปรียบเสมือนเป็นการวางโครงสร้างให้เห็นความเชื่อมโยงของธุรกิจอย่างมีเหตุและผล ส่วนแผนธุรกิจจึงเปรียบเสมือนเป็นการประกอบส่วนต่างๆของธุรกิจให้เป็นรูปร่างที่ชัดเจนมีรายละเอียด เมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์ต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการปรับแผนกลยุทธ์ (แผนดำเนินงาน) ไปตามความเหมาะสม


ดังนั้นความพร้อมในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ถี่ขึ้นรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องวางรากฐานด้วยโมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจที่ถูกต้อง และปรับกลยุทธ์ ให้การป้องกัน ลด หลีกเลี่ยง ความเสี่ยงในช่วงเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจเท่านั้น ในยามปกติก็จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย นี่แหละที่เป็นการปฏิบัติที่เป็น Next Normal


“การสร้างและปรับโครงสร้างรากฐานของธุรกิจ เป็นการบำรุงรักษาสุขภาพธุรกิจให้สามารถตั้งรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ถี่ขึ้นรุนแรงขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง”

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้